หน้ากากผ้า ใช้ผ้าอะไรทำได้บ้าง?

หน้ากากผ้า ใช้ผ้าอะไรทำได้บ้าง?

เนื่องด้วยจำนวนผู้ติดเชื้อในประเทศที่เพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วงสัปดาห์ก่อนส่งท้ายปี 2563 ส่งผลให้ เกิดการล็อกดาวน์ แทนที่จะเป็น เคาท์ดาวน์ อย่างที่ใคร ๆ คาดหวังกัน นอกจากนี้ราคาหน้ากากอนามัยยังเพิ่มสูงขึ้นอย่างน่าใจหาย ร้านค้าบางร้านหน้ากากอนามัยหมดในเวลารวดเร็ว ทำให้ความต้องการใช้หน้ากากผ้าที่เป็นสินค้าทดแทนเพิ่มขึ้นสูงไม่แพ้กัน ดังนั้น วันนี้บริษัท โอวรุ่งเรืองค้าผ้า จำกัด จะมาแนะนำว่า เราควรซื้อหรือใช้ “ผ้า” ประเภทใดในการทำหน้ากาก ทั้งหน้ากากด้านนอก และหน้ากากด้านใน เริ่มต้นที่หน้ากากด้านนอก หากเราสังเกตดี ๆ หน้ากากอนามัยส่วนใหญ่จะมีส่วนที่เป็นสีเขียวและสีขาว ซึ่งสีเขียวที่อยู่ด้านนอกจะมีการเคลือบสารกันน้ำ ส่งผลให้น้ำไม่สามารถผ่านเข้ามาได้ สาเหตุที่ต้องเคลือบสารกันน้ำเพราะว่าไวรัสส่วนใหญ่จะอยู่กับสารคัดหลั่งเช่น น้ำลาย ดังนั้นในการเลือกใช้ผ้าด้านนอกนั้นควรจะเลือกผ้าที่มีเคลือบด้วยสารเทฟลอนซึ่งมีคุณสมบัติกันน้ำได้ แต่โดยส่วนใหญ่ผ้าประเภทนี้หาได้ยากและมีราคาแพง เนื่องจากเป็นผ้าที่ใช้ในอุตสาหกรรม ดังนั้น ทางเลือกถัดมา คือ ผ้าที่สามารถใช้ทดแทนผ้าเหล่านี้ได้ ได้แก่ ผ้าโพลีเอสเตอร์ทอแน่น อย่างที่เราเคยพูดในกันบทความก่อน ผ้าโพลีเอสเตอร์ คือ ผ้าที่ทอจากเส้นใยสังเคราะห์ ดังนั้น ราคาจึงถูกกว่าผ้าฝ้าย สามารถหาซื้อได้ทั่วไป ผ้า Taffeta ที่เป็นผ้าที่คนนิยมใช้ทำเสื้อคลุม หรือแจ๊กเก็ต ผ้าไหมจะไหมไทย ไหมอิตาลี ไหมจีน ไหมญี่ปุ่น ได้ทั้งหมด […]

ผ้าสำหรับทอดกฐิน

ผ้าสำหรับทอดกฐิน

ประเพณีสำคัญสำหรับพุทธศาสนิกชนไทยที่มีมาอย่างช้านานอย่างหนึ่ง คือ การทอดกฐิน ซึ่งเป็นประเพณีที่มีระยะเวลาทั้งสิ้น 1 เดือนหลังจากออกพรรษา โดยในการทอดกฐินนั้นจะเป็นการ ถวายผ้ากฐินแด่พระภิกษุสงฆ์ โดยในอดีตกาลผ้ากฐินที่เราจะนำไปถวายนั้นจะ ไม่ใช่ผ้าไตรจีวรที่ตัดเย็บ หรือ ย้อมสีมาเรียบร้อยแล้ว เพราะในสมัยก่อนพระภิกษุจะรับผ้าขาวและทำการย้อมสีเองครับ แต่ในปัจจุบันวัดบางแห่งมีการอนุโลมให้นำผ้าที่ตัดเย็บหรือย้อมแล้วมาถวายได้ ซึ่งการรับผ้าที่ตัดเย็บย้อมสำเร็จรูปมานั้น พระสงฆ์จะไม่ได้ทำการรับผ้ามาเพื่อการกรานกฐิน ซึ่งจะไม่ครบองค์คุณสมบัติในกฐินกรรม ตามพุทธบัญญัติครับ เรามาดูคุณสมบัติของผ้ากฐินที่เราจะนำไปถวายนั้น ขอพูดถึงในกรณีผ้าขาวอย่างเดียวนะครับ ผ้าที่ถวายควรเป็น ผ้าฝ้าย(Cotton) เพราะ พระสงฆ์ท่านต้องนำผ้าไปย้อมเอง ซึ่งผ้าฝ้ายเป็นผ้าที่สามารถนำไปย้อมสีเองได้ง่ายครับ การเลือกเนื้อผ้าที่จะไปถวายก็สำคัญไม่แพ้กัน หากเป็นวัดในภาคเหนือหรือบนดอยสูงที่มีอากาศหนาว ควรเลือกผ้าที่มีความหนาประมาณหนึ่งเพื่อให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย หรือผ้าที่เหมาะกับอากาศบ้านเรา คือ ผ้ามัสลิน เพราะเป็นผ้าเนื้อละเอียด ระบายอากาศได้ดีเยี่ยม แห้งเร็ว และน้ำหนักเบา เรียงลำดับผ้ากฐินที่คนส่วนใหญ่นิยมถวายจากเนื้อบางไปเนื้อหนาได้ดังนี้ คือ ผ้ามัสลิน>ผ้าซันฟอไรซ์ (Sanforized) ตราดอกบัว เบอร์หมื่น>ผ้าซันฟอไรซ์(Cotton ลาย1)>ผ้าคอตต้อนลายสอง *กรณีที่จำเป็นต้องถวายผ้าที่ตัดเย็บย้อมสำเร็จรูปแล้ว ต้องคำนึงถึงสีข้องผ้ารวมถึงนิกายของวัดที่ต้องการไปถวายด้วย อย่างพระสายธรรมยุต จะใช้เป็นสีแก่นขนุน แก่นขนุนเข้ม และสีกรักครับ ข้อควรรู้อีกอย่างสำหรับผ้าสำเร็จรูปที่ย้อมหรือตัดมาเรียบร้อยแล้ว ผู้ประกอบการบางรายนิยมใช้ผ้าโทเร หรือผ้าที่มีส่วนผสมระหว่างฝ้ายและโพลีเอสเตอร์ เพราะมีราคาที่ถูก แต่ข้อเสียของผ้าชนิดนี้ คือ จะลื่น […]

เบอร์เส้นด้าย (Yarn Count) นับอย่างไร?

หลายคนสงสัยว่าทำไมผ้าที่ทอจากเส้นใยประเภทเดียวกัน ทอจากโรงงานเดียวกัน ทำไมความหนาบาง ความนุ่มความหยาบของผ้าจึงต่างกัน สาเหตุมาจากการใช้ “เบอร์เส้นด้าย” ที่ต่างกัน จึงไม่แปลกครับที่ในปัจจุบันจะมีชื่อผ้าใหม่ ๆ เกิดขึ้นมามากมาย เพราะแค่เปลี่ยนเบอร์เส้นด้ายในการทอก็เรียกชื่อใหม่ ๆ กันออกมา ซึ่งในวันนี้ บริษัท โอวรุ่งเรืองค้าผ้า จำกัด จะพาไปดูว่าเบอร์เส้นด้ายคืออะไร ใช้หน่วยอะไรในการวัด และหน่วยในการวัดเส้นด้ายแต่ละชนิดเหมือนกันหรือไม่ เบอร์เส้นด้าย (Yarn Count) คือ สิ่งที่บอกเราว่าเส้นด้ายมีขนาดเล็กหรือใหญ่ หนาหรือบางแค่ไหน โดยนิยามเหล่านี้ถูกกำหนดโดยสถาบันสิ่งทอซึ่งได้มีการพัฒนาและตกลงให้ใช้เป็นมาตรฐานในอุตสาหกรรมสิ่งทอ ในปัจจุบันระบบเบอร์เส้นด้ายสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ระบบกลับหรือระบบผกผัน (Indirect System) และ ระบบตรง (Direct System)   1. ระบบกลับ (Indirect System) เบอร์เส้นด้ายในระบบนี้จะแสดงถึงด้ายที่มีน้ำหนักคงที่ แต่ความยาวของด้ายจะเปลี่ยนแปลงตามเบอร์ด้าย กล่าวคือ ยิ่งเบอร์ด้ายสูงขึ้นเส้นด้ายยิ่งเล็ก ทอออกมาแล้วผ้าจะบาง มีความละเอียดของเนื้อผ้ามาก แต่ถ้าเบอร์ด้ายต่ำเส้นด้ายจะมีขนาดใหญ่ ทำให้เวลาทอออกมาแล้วผ้าจะหนา มีลักษณะหยาบ โดยหน่วยของระบบกลับที่นิยมใช้กัน ได้แก่ English […]

สิ่งที่ต้องรู้เกี่ยวกับการพิมพ์ผ้า

สิ่งที่ต้องรู้เกี่ยวกับการพิมพ์ผ้า

สวัสดีครับ ในบทความที่แล้วเราได้พูดถึงเทคนิคในการพิมพ์ผ้าแบบต่าง ๆ ในบทความนี้จะพูดถึงสิ่งที่ต้องรู้เกี่ยวกับการพิมพ์ผ้าครับ เริ่มต้นที่ความหมายของการพิมพ์ผ้านะครับ การพิมพ์ผ้า คือ การทำให้เกิดลวดลาย หรือสีสัน ที่ได้กำหนดลวดลายไว้ล่างหน้าบนวัสดุผ่านแป้งพิมพ์ (Printing Paste) โดยตัวแป้งพิมพ์จะถูกเตรียมขึ้นโดยอาศัย 4 องค์ประกอบด้วยกัน คือ 1. สีที่ใช้ (Colorant) 2. สารข้น (Thickening agent) 3. สารช่วยละลาย (Solvent) และ 4. สารเสริม (Auxiliaries) ซึ่งอธิบายแยกทีละตัวได้ดังนี้   สีที่ใช้ (Colorant) เราสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก ได้แก่ สีย้อม (dyestuff) และ เม็ดสี (pigment) 1.1 สีย้อม (dyestuff) คือ สีชนิดหนึ่งที่ใช้ในการย้อมเส้นใยของผ้า อาจจะเป็นสารอินทรีย์ หรือสารอนินทรีย์ก็ได้ ตัวสีย้อมจะมีลักษณะเป็นผลึกหรือผงละเอียด สีย้อมบางชนิดละลายน้ำได้ บางชนิดจะไม่สามารถละลายน้ำแต่จะละลายในตัวทำละลายอินทรีย์ได้ โดยเราสามารถแบ่งสีย้อมได้เป็น สีย้อมธรรมชาติ […]

เทคนิคการพิมพ์ผ้า

เทคนิคการพิมพ์ผ้า

การพิมพ์ผ้าแต่ละแบบมีอะไรบ้าง และแตกต่างกันอย่างไร ต้องยอมรับเลยว่าในปัจจุบันเทคโนโลยีใหม่ ๆ มีส่วนช่วยเข้ามาทำให้กระบวนการผลิตแบบเดิมเปลี่ยนไป ไม่เว้นแม้แต่เทคโนโลยีทางการพิมพ์ที่มีกระบวนการที่ทันสมัยขึ้น วันนี้ บริษัท โอวรุ่งเรืองค้าผ้า จำกัด จะพาไปดูว่าในปัจจุบันวิธีการพิมพ์ผ้าสามารถทำได้ด้วยวิธีใดบ้าง และแต่ละวิธีแตกต่างกันอย่างไรนะครับ   1. การพิมพ์แบบปั๊ม (Stamp Printing) การพิมพ์แบบนี้เป็นการพิมพ์โดยอาศัยตัวปั๊ม (Stamp) ที่ทำออกมาเป็นรูปแบบ หรือรูปทรงต่าง ๆ คล้ายกับตัวปั๊มหรือตรายางครับ โดยวิธีการพิมพ์แบบนี้จะเริ่มต้นที่เรานำรูปแบบหรือลวดลายต่าง ๆ ที่ได้ออกแบบมา มาทำเป็นตัวปั๊มจากนั้นนำตัวปั๊มเหล่านั้นไปจุ่มหมึกและประทับลงบนผ้า เราก็จะได้ลวดลายต่าง ๆ บนผ้าตามที่เราได้ออกแบบไว้แล้วครับ ซึ่งการใช้วิธีพิมพ์แบบนี้มักถูกจำกัดรูปแบบหรือลวดลายเพราะการสร้างตัวปั๊มแต่ละตัวมีต้นทุน หากเราอยากขายเสื้อ 20 ลาย เราจำเป็นต้องมีตัวปั๊มถึง 20 ตัว ดังนั้นการทำลวดลายที่ซับซ้อนจะเป็นการเพิ่มต้นทุนในการสร้างตัวปั๊มครับ ตัวอย่างการพิมพ์แบบปั๊ม (Stamp Printing) ที่มา : https://www.pinterest.com/pin/318840848590596542/   ข้อดี ไม่ต้องใช้เครื่องจักรในการพิมพ์ ลวดลายที่ได้จะคงที่เสมอ เนื่องจากมาจากตัวปั๊มตัวเดียวกัน เหมาะสำหรับกิจการขนาดเล็ก เนื่องจากลงทุนไม่มากนัก ข้อเสีย รายละเอียด หรือ ลวดลาย […]

“ผ้า” ที่ใช้ทำรองเท้าผ้าใบ

ผ้า ที่ใช้ทำรองเท้าผ้าใบ

  รองเท้าผ้าใบ หรือรองเท้า  Sneaker เป็นรองเท้าที่ออกแบบมาเพื่อการเล่นกีฬาหรือออกกำลังกายในรูปแบบต่าง ๆ แต่เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนไปเริ่มมีการออกแบบรองเท้าผ้าใบแฟชั่นเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป ดังนั้นจึงมีการนำวัสดุประเภทต่าง ๆ มาใช้เพื่อเพิ่มความหลากหลายให้กับรองเท้ามากขึ้น โดยในวันนี้ผมจะพาไปดูว่า “ผ้า” ประเภทใดที่ใช้เป็นวัสดุบนรองเท้าผ้าใบกันครับ ผ้าแคนวาส(Canvas) แน่นอนว่ารองเท้าผ้าใบ ย่อมต้องทำจาก “ผ้าใบ” หรือ “ผ้าแคนวาส” ซึ่งมีจุดเด่นอยู่ที่ มีความทนทานในการใช้งาน รวมถึงมีความยืดหยุ่นและสามารถระบายอากาศได้ ซึ่งผมมั่นใจว่าคุณผู้ชายต้องมีรองเท้าที่ทำจากผ้าใบอย่างน้อย 1 คู่ ตัวอย่างแบรนด์ระดับโลกที่เราจะเห็นได้ชัด คือ แบรนด์ Converse ที่มีรองเท้าผ้าใบหลากหลายแบบให้สะสม CONVERSE W. ALL STAR OX CANVAS ที่มา: https://en.aw-lab.com/shop/converse-w-all-star-ox-canvas-5890605   ผ้าวูล(Wool) ผ้าวูลจัดเป็นผ้าที่ทำจากเส้นใยที่ทำจากธรรมชาติ100% (Natural fiber) โดยคุณสมบัติของขนสัตว์ คือ ถ่ายเทความร้อนได้ดี เวลาสวมใส่จึงให้ความอบอุ่น ดังนั้น รองเท้าผ้าวูลส่วนใหญ่มักจะนิยมใช้กันในประเทศที่มีอากาศหนาว สำหรับประเทศไทยอาจจะพบเห็นได้น้อยคนนักที่จะใช้รองเท้าประเภทนี้ครับ Xero Shoes Pacifica ที่มา: https://www.amazon.com/Xero-Shoes-Pacifica-Minimalist-Barefoot/dp/B07H2MDKJ4 […]

ผ้าซาตินคืออะไร?

ผ้าซาติน(Satin)คืออะไร?

ผ้าซาติน (Satin) คืออะไร? บ่อยครั้งที่เราได้ยินชื่อผ้า ซาติน (Satin) แต่เราอาจจะนึกภาพไม่ออกว่าผ้าซาตินมีหน้าตาหรือลักษณะเป็นอย่างไร ดังนั้นวันนี้ บริษัท โอวรุ่งเรืองค้าผ้า จำกัด จะพาไปรู้จักกับผ้าซาตินกันครับ ซาติน (Satin) คือ ผ้าทอชนิดหนึ่งที่สร้างขึ้นโดยการนำเส้นยืน (warp yarn) หลายเส้นพาดทับเส้นพุ่ง (weft yarn) 1 เส้น และทำซ้ำแบบนี้ไปเรื่อย ๆ จนได้เป็นผืนผ้าขึ้นมา ด้วยความเชื่อมโยงของเส้นด้ายที่ไม่ค่อยสอดประสานกันมากนักส่งผลให้ลักษณะของผ้าที่ได้จะมีพื้นผิวที่เรียบ และมีความมันวาว ดังนั้นคำว่า “ซาติน” ในที่นี้มีความหมาย คือ ลายชนิดหนึ่งของผ้านั่นเอง ผ้าซาตินนับว่ามีการทอที่ซับซ้อนพอสมควรเนื่องด้วย การจัดเรียงของเส้นยืน และเส้นพุ่ง ที่ถูกทำให้เอียง เนื่องจากกระบวนการทอที่กล่าวไปข้างต้น ซึ่งจะแตกต่างจากผ้าทวิว (Twill) การทอของผ้าจะถูกเลื่อนไปในแต่ละแถวเพื่อสร้างลวดลายที่เป็นเส้นทแยงมุมขึ้น(ลายทวิว หรือ ลายสอง) ที่มา: https://www.contrado.co.uk/blog/what-is-satin-a-fashion-lovers-guide-to-satin-fabric/ จากภาพด้านบนจะเห็นว่า เส้นยืนจะพาดทับเส้นพุ่ง 4 เส้น และจะอยู่ใต้เส้นพุ่ง 1 เส้น โดยจะวนแบบนี้ซ้ำไปเรื่อย ๆ จนได้ผืนผ้าขึ้นมานั่นเอง […]

ผ้าแคนวาส vs ผ้าทวิว

ผ้าแคนวาส VS ผ้าทวิว

สวัสดีครับทุกท่าน วันนี้ผมจะพาไปดูความแตกต่างที่สำคัญของผ้าทวิว(ผ้าลายสอง) และ ผ้าแคนวาส (ผ้าตามด) กันนะครับ ความแตกต่างที่สำคัญระหว่างผ้าทั้งสองประเภทนี้คือโครงสร้างการทอ โดยผ้าแคนวาสถูกทำด้วยรูปแบบการทอธรรมดาที่เรียบง่ายอย่าง “over one, under one” โดยมีหลักการ คือ การใช้เส้นด้ายพาดทับกัน โดยใช้เส้นด้าย 2 เส้นในด้านบนแทนที่จะเป็นเส้นเดี่ยว ซึ่งเป็นวิธีการทอผ้าแบบธรรมดา ส่งผลให้ลายผ้าของผ้าแคนวาสมีลักษณะที่เรียกกันว่า “ตามด” ในขณะที่ผ้าทวิวถูกทอจากรูปแบบที่แตกต่างกัน คือ การใช้เส้นด้ายด้านบนแบบเส้นเดี่ยวพาดทับกันกับเส้นด้ายด้านล่าง 2 เส้น หรือบางโรงงานอาจทอโดยใช้ 3 เส้น โดยการทอของผ้าจะถูกเลื่อนไปในแต่ละแถวเพื่อสร้างลวดลายที่เป็นเส้นทแยงมุมขึ้น ซึ่งลายเส้นทแยงมุม หรือที่คนบางกลุ่มเรียกว่า “ลายสอง” นี้เองที่เป็นเอกลักษณ์ของผ้าชนิดนี้ ซึ่งการทำลายทแยงยังช่วยให้ผ้าที่มีลักษณะนี้มีฉีกขาดได้ยากกว่าผ้าแคนวาส ยกตัวอย่างให้เห็นภาพง่าย ๆ เลย คือ หากเราใช้มือฉีกผ้าแคนวาสออก ผ้าแคนวาสจะฉีกลงมาได้อย่างง่ายดาย ในขณะที่หากเราลองฉีกผ้าทวิว จะพบว่าแทบจะเป็นไปไม่ได้เลยที่จะฉีกผ้าทวิวให้ลงมาตรงกลางได้อย่างสวยงาม นอกจากนี้ผ้าทวิวยังมีน้ำหนักที่ไม่ต่างกันกับผ้าแคนวาสมากนัก ดังนั้นหากต้องเลือกระหว่างผ้าทวิวและผ้าแคนวาสสำหรับงานที่ต้องการความทนทานสูง ผ้าทวิวจะเป็นตัวเลือกที่ดีกว่าเพราะมีน้ำหนักไม่แตกต่างจากผ้าแคนวาส ในขณะที่มีความทนทานสูงกว่าผ้าแคนวาสนั่นเอง ในตลาดผ้าบางแห่ง จะเรียกผ้าทวิวที่มีน้ำหนักมากกว่า 12 ออนซ์ ว่า “Bull Denim” หรือผ้าหนังควาย […]

ประวัติโดยย่อของผ้า “CANVAS”

สวัสดีทุกท่านนะครับ วันนี้ผมจะเล่าประวัติโดยย่อของผ้าแคนวาส (Canvas) ว่ามีความเป็นมาอย่างไรนะครับ แต่ก่อนจะเข้าสู่ประวัติขออธิบายลักษณะของผ้าชนิดนี้ก่อนนะครับ “ผ้าแคนวาส” หรือ ที่บางคนเรียกว่า “ผ้าใบ” เป็นผ้าทอที่มีน้ำหนักมาก ส่วนมากใช้ในงานประเภทที่ต้องการความทนทานมาก เช่น การทำใบเรือ, เต็นท์, ผ้าคลุม หรือ กันสาด โดยน้ำหนักของผ้าแคนวาสมีตั้งแต่ 10 ถึง 50 ออนซ์ต่อตารางหลา โดยคำว่า “Canvas” นั้นมีรากศัพท์มาจากคำภาษาอาหรับ คือ “Cannabis” ซึ่งความหมายในภาษาลาตินตรงกับ “Hemp” แปลเป็นไทย คือ ป่าน หรือ กัญชา โดยในยุคสมัยเก่าป่านถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายในการทำผ้าแคนวาส แต่ผ้าแคนวาสสมัยใหม่มักทำจากฝ้าย, ลินิน หรือวัสดุสังเคราะห์ ผ้าแคนวาสมีการทอที่ง่าย แต่มีความคงทนมากเนื่องจากความถี่ของการทอที่สูงทำให้ผ้าแคนวาสบางประเภทสามารถกันน้ำได้ดีอีกด้วย การใช้วัสดุสังเคราะห์ที่ถูกต้องสามารถให้ผ้าแคนวาสทนทานต่อสภาพอากาศ ทำให้เป็นตัวเลือกที่สมบูรณ์แบบสำหรับงานสถาปัตยกรรม, อุตสาหกรรมและทางทะเลอีกด้วย “การทอผ้าในสมัยกรีกโบราณ” ป่านเป็นพืชที่ให้ผลผลิตด้านเส้นใยที่เก่าแก่ที่สุด ช่วง 3,000 ปีก่อนคริสตกาลคนในประเทศจีนทำเครื่องแต่งกายจากเส้นใยป่าน เนื่องจากเส้นใยป่านมีความแข็งแรงเหมาะสำหรับการทำเชือกและสายระโยงระยางที่ดี ราว 1,500 ปีก่อนคริสตกาลชาวพื้นเมืองของอินเดียเริ่มทอฝ้ายเป็นเนื้อผ้า นอกจากนี้ กลุ่ม Saracens(ชาวอาหรับ หรือ มุสลิมในยุคสงครามครูเสด) และ Moors(สมาชิกของชาวมุสลิมแอฟริกันตะวันตกเฉียงเหนือที่มีเชื้อสายเบอร์เบอร์และเชื้อสายอาหรับ) […]

“ผ้า” สำหรับใช้ตกแต่งสถานที่

หลายคนอาจสงสัยว่า “ผ้า” ที่ใช้ตกแต่งอาคารสถานที่ รั้ว กำแพง หรือใช้ในงานพิธีต่าง ๆ เป็นผ้าประเภทใด วันนี้ผมมีคำตอบมาให้ครับ ส่วนใหญ่แล้วผ้าที่ใช้ตกแต่งอาคารสถานที่ หรือใช้ในงานพิธีต่าง ๆ จะมีอยู่ 2 ประเภท ด้วยกัน 1. ผ้าเครป (Crepe) หรือผ้าต่วน – ผ้าชนิดนี้จะมีลักษณะที่นุ่ม เนื้อผ้ามีความลื่นมือ ผิวผ้าด้านนึงมีลัษณะเป็นมันเงา ส่วนอีกด้านนึงมีลักษณะด้าน ทำให้ดูหรูหราเหมาะกับงานตกแต่งประดับประดาต่างๆ อาทิ คลุมเก้าอี้งานแต่ง โต๊ะ หรือติดบอร์ดต่าง ๆ ตกแต่งอาคาร นอกจากนี้ผ้าเครปยังสามารถนำไปตัดเสื้อผ้าได้อีกด้วย แต่ไม่นิยมมากนัก 2. ผ้าซับใน (Lining Fabric) หรือผ้าออแกนซ่า – ผ้าชนิดนี้ส่วนใหญ่มักใช้เป็นผ้าซับในเครื่องแต่งกายไม่ว่าจะเป็นกางเกง กระโปรง หรือซับในกระเป๋า นอกจากนี้ผ้าซับในยังสามารถนำมาใช้ตกแต่งสถานที่ได้ดีอีกด้วย ถึงแม้ว่าเนื้อผ้าจะไม่เงาเหมือนผ้าเครป แต่สามารถใช้ทดแทนกันได้อย่างมีประสิทธิภาพครับ   สำหรับใครที่สนใจหรือหาซื้อผ้าเพื่อใช้ตกแต่งอาคารสถานที่ หรือใช้ในพิธีต่าง ๆ สามารถติดต่อสอบถามทางร้านได้เลยครับ ในบทความต่อไปผมจะพาไปดูหน้าที่ของผ้าชนิดอื่น อย่าลืมติดตามกันนะครับ